
งานวิจัยระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก
งานวิจัยระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1001000646 เรื่อง “ระบบสแตนบายแบบไม่ใช้พลังงานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า” ยื่นคำขอวันที่ 22 เมษายน 2553
คำขอสิทธิบัตร เลขที่คำขอ 1201003308 เรื่อง “ระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมากสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้า” ยื่นคำขอวันที่ 2 กรกฎาคม 2555
ที่มาของงานวิจัยระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก
ข้อมูลเบื้องต้น ความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือนส่วนใหญ่สามารถควบคุม เปิด-ปิดการทำงานได้ด้วยรีโมทคอนโทรล ซึ่งยังคงกินไฟฟ้าในขณะที่อุปกรณ์อยู่ในโหมดสแตนบายอยู่ ซึ่งหากรวมการใช้ไฟพร้อมกันในปริมาณมากๆ ก็เกิดความสูญเสียไฟฟ้าไปโดยสูญเปล่าเป็นจำนวนมากต่อปี ระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก (Near-Zero-Watt Standby System) จะทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าใช้ไฟในโหมดสแตนบายต่ำมาก คิดเป็นปริมาณน้อยกว่าเกือบ 10 เท่า ซึ่งใกล้เคียงกับการถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยที่ผู้ใช้งานไม่ต้องเดินไปกดปุ่มเปิดปิดที่ตัวอุปกรณ์ไฟฟ้าโดยตรง
สรุปเทคโนโลยีของงานวิจัยระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก
จุดเด่นของเทคโนโลยีงานวิจัยระบบสแตนบายแบบใช้พลังงานต่ำมาก
ระบบที่พัฒนาขึ้นจะใช้พลังงานต่ำมากในขณะที่ระบบอยู่ในโหมดสแตนบาย เมื่อผู้ใช้สั่งเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบจะใช้พลังงานที่ส่งมาจากรีโมทคอนโทรลเพื่อควบคุมวงจรสวิทช์ให้เชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยรีโมทคอนโทรลอาจมีการหน่วงเวลาไว้เพื่อรอให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟก่อนที่จะส่งสัญญาณคำสั่งออกไป ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งจะเข้าสู่โหมดการทำงานปกติ และเมื่อผู้ใช้สั่งปิดอุปกรณ์ไฟฟ้า ภาคควบคุมจะตัดแหล่งจ่ายไฟและเข้าสู่โหมดสแตนบายโดยใช้พลังงานต่ำมากขณะรอรับคำสั่งเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าจากรีโหมดคอนโทรล
• สูญเสียพลังงานในโหมดสแตนบายต่ำกว่า 10 มิลลิวัตต์
• ใช้เทคโนโลยีการรับส่งพลังงานแบบไร้สายควบคู่กับการส่งสัญญาณควบคุมของรีโมทคอนโทรลในการควบคุมการเปิดปิดของอุปกรณ์ไฟฟ้า
• สามารถใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้รีโมทคอนโทรลเช่น โทรทัศน์ วิดีโอ เครื่องเสียง เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น
• สามารถฝังหรือควบรวมเข้าไปในอุปกรณ์ไฟฟ้าได้โดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมไม่มาก
• ราคาถูก
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ
CR thailandtechshow