อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร โดยจําแนกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราเห็นภาพชัดและคุ้นชินนั้นทําได้ไม่มาก เนื่องจาก ข้อจํากัดของข้อมูลสิทธิบัตร ดังนี้
1.นวัตกรรมหนึ่งอย่างประกอบขึ้นจากหลากหลายเทคโนโลยี ซึ่งข้อมูลสิทธิบัตรจําแนกงานประดิษฐ์เป็นกลุ่มตามเทคโนโลยี เช่น เราไม่สามารถค้นหากลุ่มของอุตสาหกรรม Crowd-funding หรือ การ เรียนการสอนทางไกลได้โดยใช้สัญลักษณ์การประดิษฐ์สากล (IPC) ได้ โดยตรง เพราะในอุตสาหกรรมเหล่านั้น ประกอบขึ้นจากเทคโนโลยี ที่หลากหลาย เช่น เทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูล หรือเทคโนโลยีการแสดงผล เป็นต้น ขึ้นอยู่กับว่า นวัตกรรมเหล่านั้น ผู้ประดิษฐ์ได้พัฒนาในประเด็นไหน ซึ่งในบางครั้ง ผู้ประดิษฐ์เพียง แค่พัฒนาเทคโนโลยีการแสดงภาพเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการแพทย์ ทางไกล แต่งานประดิษฐ์นั้นยังสามารถถูกจัดไว้เป็นกลุ่มเดียวกับงาน ประดิษฐ์เทคโนโลยีการแพร่ภาพของอุตสาหกรรมเกมส์ได้ เป็นต้น ทําให้การแยกว่า เทคโนโลยีการแสดงภาพนี้ เป็นของนวัตกรรมใน กลุ่มอุตสาหกรรมใดเป็นเรื่องยาก
2.ข้อความในสิทธิบัตร ไม่เป็นข้อความที่ใช้โดยทั่วไป กล่าวคือ การบรรยายงานประดิษฐ์ในสิทธิบัตร มักไม่ใช้คําที่เราเข้าใจดี แต่มัก เป็นการบรรยายโดยการบอกลักษณะมากกว่า เช่น หากจะค้นหาเก้าอี้ โดยใช้คําค้นหาว่า “เก้าอี้” อาจไม่สามารถเจองานประดิษฐ์เกี่ยวกับ เก้าอี้ได้หมด เนื่องจากในการบรรยายนั้น ผู้ยื่นคําขอรับสิทธิบัตรหรือ ตัวแทนสิทธิบัตร จะใช้วิธีการบอกกว้างๆ เช่น อุปกรณ์สําหรับนั่ง หรือ แผ่นรองรับ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขอบเขตการคุ้มครองและหลีกเลี่ยงการ ค้นเจอได้โดยง่าย ทําให้การค้นหาข้อมูลสิทธิบัตรเพื่อนํามาวิเคราะห์ โดยการใช้คําสืบค้นเพียงอย่างเดียว จะได้ข้อมูลที่น้อยและไม่ครบถ้วน
ด้วยข้อเด่นและข้อจํากัดดังกล่าวข้างต้น การสืบค้น จัดกลุ่ม เทคโนโลยี และวิเคราะห์ข้อมูลสิทธิบัตร จึงได้ข้อมูลการวิเคราะห์ ที่แตกต่าง และได้แง่มุมการวิเคราะห์ ที่แตกต่างจากรายงานการ วิเคราะห์อื่น ๆ เช่น รายงานการวิเคราะห์การตลาด การทดลองทาง วิทยาศาสตร์ เป็นต้น ช่วยให้ผู้ประกอบการ หรือผู้บริหาร มีข้อมูล ประกอบการตัดสินใจหรือวางกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มากขึ้น (T., 2015)
cr กรมทรัพย์สินทางปัญญา